Domain Name

จดโดเมนเนม
ราคาถูก

ครอบคลุมทุกบริการโดเมนเนม จดโดเมนเนมใหม่ (Registration)
ต่ออายุโดเมน (Renewal) และย้ายโดเมน (Transfer) ในราคาที่คุ้มที่สุด

domain
Domain Name คืออะไร ?

ชื่อโดเมน หรือ Domain Name หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ที่ใช้ในการอ้างอิงแทนหมายเลข IP เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลบนเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำง่ายและสื่อความหมายถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ชื่อองค์กร หน่วยงาน บริษัท แบรนด์สินค้า หรือสามารถใช้เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่ และไม่สามารถใช้ชื่อโดเมนซ้ำกันได้ในนามสกุลเดียวกัน

สำคัญ ICANN องค์กรดูแลโดเมนเนมโลกได้ออกกฎให้ทุกโดเมนเนมที่มีการจดใหม่ มีการยืนยันตัวผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียด

หลักการตั้งชื่อโดเมน
  1. ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะต้องประกอบด้วยอักษรหรือตัวเลข (a-z, 0-9) อย่างน้อย 2 ตัวอักษร แต่ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  2. ชื่อโดเมนสามารถมีเครื่องหมายยัติภังค์ “-” (เครื่องหมายขีดสั้น) แต่ต้องไม่ใช้ในตอนเริ่มต้นหรือลงท้ายของชื่อ และไม่ใช้ติดกัน 2 ตัว
  3. ชื่อที่เลือกจะต้องใช้อักษรที่มาจากชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ ยกเว้นได้ระบุเป็นอย่างอื่นใน นโยบายเฉพาะเจาะจงตามประเภทชื่อโดเมน
  4. ชื่อโดเมนจะต้องไม่เป็นคำสงวนและคำเฉพาะ เช่น
    • คำที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
    • ต้องไม่เป็นชื่อประเทศ จังหวัด รัฐ เมือง รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่าง ๆ หรือสื่อถึงชื่อเหล่านั้น
    • ต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย หรือสื่อถึงคำเหล่านั้น
    • คำที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์
  5. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธ์ในการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย

ค้นหาโดเมนเนมเฮงๆ

ทำไมถึงเลือก จดโดเมนเนม กับ THAI DATA HOSTING
ครอบคลุมทุกบริการโดเมนเนม จดโดเมนเนมใหม่ ต่ออายุโดเมนเนม และย้ายโดเมนเนม ในราคาที่ถูกที่สุด
Protect Domain
ระบบป้องกันข้อมูลโดเมน
เพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ถือครองโดเมน สามารถเปิดบริการ Whois Privacy ไม่ให้เปิดเผยข้อมูลเจ้าของโดเมนเนมได้ฟรี
Setting Domain
จัดการโดเมนเนมได้เอง
ต่ออายุโดเมนนม ปรับเปลี่ยนแก้ไข Nameservers จัดการแก้ไขข้อมูลผู้ถือครองโดเมนเนมได้ด้วยตัวเอง
Lock Domain
ล็อกและปลดล็อคโดเมนเนมได้
สามารถตั้งค่าล็อกและปลดล็อคโดเมนเนม เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่สามพยายามโอนย้ายโดเมนโดยไม่ได้รับอนุญาต
Domain Notofication
แจ้งเตือนโดเมนเนมหมดอายุ
มีอีเมลแจ้งเตือนก่อนโดเมนหมดอายุเพื่อให้รักษาโดเมนไว้อย่างปลอดภัย และทีม Support พร้อมให้บริการ 24 ชั่งโมง
ย้ายโดเมนเนมมาให้เราดูแล
  • ร้องขอ EPP Code และแจ้ง Unlock โดเมนเนมจากผู้ให้บริการเดิม
  • แจ้งเปลี่ยนอีเมลผู้ดูแลโดเมนเนมเป็น [email protected]
  • ดำเนินการย้ายผ่านระบบ Client Center พร้อมระบุ EPP Code ที่ได้รับ
  • ชำระค่าบริการและแจ้งการชำระค่าบริการ
  • รอระบบตรวจสอบและทำการย้ายโดเมนเนม
  • ลูกค้าจะได้รับอีเมลส่งถึงอีเมลที่ถือเป็นเจ้าของโดเมนเนม เพื่อยืนยันการย้ายโดเมนเนม
  • อ่านขั้นตอนวิธีการยืนยันตามที่อีเมลฉบับนั้นแนะนำ
  • หากต้องการความช่วยเหลือสามารถ forward มายัง [email protected]
  • หลังจากยืนยันการย้ายเรียบร้อย รอระบบทำการย้าย 7-14 วัน
  • หากการย้ายเสร็จสมบูรณ์จะได้รับอีเมลรายงานผลอัตโนมัติ
การย้ายโดเมนเนม .th

กรณีลูกค้าต้องการย้ายโดเมนเนม .th มาให้เราดูแล จำเป็นต้องให้หน่วยงานออกเอกสาร ขอเปลี่ยนแปลงจากผู้ดูแลระบบเดิมเป็น [email protected] ตามตัวอย่างดังนี้

ย้ายโดเมนเนมมาให้เราดูแล

สำหรับนิติบุคคลทางธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ หรือ ผู้ถือครองเครื่องหมายการค้า/บริการ

เอกสาร : สามารถพิจารณาได้เป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1. จดทะเบียนชื่อโดเมนโดยพิจารณาจากชื่อองค์กร

  • ชื่อโดเมนจำเป็นต้องสอดคล้อง, เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือย่อมาจากชื่อองค์กรได้ (ไม่สามารถเพิ่มตัวอักษร)
  • ชื่อองค์กร 1 ชื่อ สามารถใช้อ้างอิงเพื่อจดทะเบียนชื่อโดเมนได้เพียง 1 ชื่อ เท่านั้น หมายเหตุ กรณีไม่ใช่นิติบุคคล แต่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถจดทะเบียน .co.th ได้ โดยยื่นเอกสาร ภ.พ.20
1. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
  • หนังสือรับรองนิติบุคคล หรือ เอกสาร ท.ค.0401 หรือ พ.ค.0401 (ทะเบียนการค้า) หรือ เอกสาร ภ.พ.20 (ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
2. นิติบุคคลต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
  • หนังสือรับรองนิติบุคคลต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
  • หนังสือรับรองนิติบุคคลตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
  • หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ ดังนี้
    • รับรองว่านิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทตัวแทน
    • รับรองการอนุญาตใช้ชื่อนิติบุคคลต่างประเทศในการจดทะเบียนชื่อโดเมน โดยระบุชื่อโดเมนอย่างชัดเจน

กรณีที่ 2. จดทะเบียนชื่อโดเมนโดยพิจารณาจากเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วม

  • ชื่อโดเมนจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมทุกตัวอักษร
  • หน่วยงาน/บุคคล ที่มีเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมมากกว่า 1 ตัว สามารถจดชื่อโดเมน .co.th ได้ตามจำนวนเครื่องหมายนั้น
1. เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมที่จดทะเบียนในประเทศไทย
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง หรือ เครื่องหมายร่วม ที่ได้จดทะเบียนและออกให้โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย
2. เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมที่จดทะเบียนในต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
  • หนังสือรับรองนิติบุคคลตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
  • หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ ดังนี้
    • รับรองนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นตัวแทน
    • รับรองการอนุญาตใช้ชื่อเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมต่างประเทศในการจดทะเบียนชื่อโดเมน โดยระบุชื่อโดเมนอย่างชัดเจน

สำหรับสถานศึกษา ที่ได้รับประกาศรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่มีสถานะเทียบเท่า

เอกสาร : หนังสือจัดตั้งสถานศึกษา
กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งได้ สามารถออกหนังสือรับรองซึ่งระบุใจความดังนี้

    • หน่วยงานที่สังกัด
    • ที่ตั้งของสถานศึกษา
    • คำรับรองการขอจดทะเบียนชื่อโดเมน
    • ลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการ หรือผู้มีอำนาจลงนามของสถานศึกษานั้น ๆ พร้อมประทับตราสำคัญ

หมายเหตุ กรณีที่เป็นสถานศึกษาประเภทกวดวิชา จะต้องแสดงใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเท่านั้น

  • ตัวอย่าง หนังสือรับรองการจดทะเบียนชื่อโดเมน  [Thai]  [English]
  • ตัวอย่าง หนังสือจัดตั้งสถานศึกษา  [Thai]  [English]

 

สำหรับส่วนราชการ และโครงการในกำกับของหน่วยงานภาครัฐ

นโยบายเพิ่มเติม : ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้องกับ "หลักการตั้งชื่อโดเมน" และหากจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้โครงการ ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้องกับชื่อโครงการนั้น ๆ

เอกสาร :

  • หนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อโดเมนถึงผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของหน่วยงานต้นสังกัด (CIO : Chief Information Officer) หรือ หนังสือรับรองการใช้ชื่อโดเมนของหน่วยงานซึ่งออกโดย CIO ของหน่วยงานต้นสังกัด

กรณีที่เป็นโครงการ จะต้องแสดงหนังสือซึ่งประกอบด้วย

  • รายนามคณะกรรมการ
  • วัตถุประสงค์ของโครงการ
  • วันสิ้นสุดของโครงการ
  • หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ

สำหรับองค์กร หรือ บุคคล (รายละเอียด เพิ่มกรณีที่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี)

นโยบายเพิ่มเติม

  • สามารถจดทะเบียนได้ไม่จำกัดจำนวน
  • ชื่อโดเมนสามารถตั้งได้โดยอิสระ ภายใต้ “หลักการตั้งชื่อโดเมน” (เฉพาะข้อ 1-2,4-5)
  • เครื่องหมายการค้าต่างประเทศสามารถขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .in.thเพื่อปกป้องสิทธิ์ โดยชื่อโดเมนจะต้องตรงกับเครื่องหมายการค้าทุกตัวอักษร แต่จะไม่สามารถใช้งานได้ ทั้งนี้มีค่าธรรมเนียมรายปี เช่นเดียวกับชื่อโดเมนที่มีการใช้งานปกติ

เอกสาร : สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี
กรณีที่ 1. สำหรับองค์กร

  • เอกสารแสดงการจัดตั้งองค์กร หรือ
  • หนังสือรับรองการขอจดทะเบียน โดยระบุชื่อโดเมนและผู้ถือครอง

กรณีที่ 2. สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บัตรประชาชน, บัตรประจำตัวข้าราชการ
  • ใบขับขี่
  • หนังสือเดินทางที่ออกโดยราชอาณาจักรไทย
  • ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (work permit)
  • กรณีผู้ถือครองอายุต่ำกว่า 15 ปี จะต้องขอจดทะเบียนชื่อโดเมนในนามของผู้ปกครองและสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ถือครองได้เมื่อมีอายุครบ 15 ปี บริบูรณ์แล้ว

เอกสาร :

หนังสือรับรองจาก กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย อนุญาตให้หน่วยงาน/องค์กรภายใต้การกำกับของ กองบัญชาการกองทัพไทย จดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .mi.th ได้

สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม

เอกสาร : ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 แบบ ตาม พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔

สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชน

เช่น สมาคม มูลนิธิ สภาวิชาชีพ ศาสนสถาน องค์การมหาชนอิสระ สหกรณ์ พรรคการเมือง สถานฑูต หอการค้า ชมรม หรือ โครงการเพื่อสังคม เป็นต้น

เอกสาร : หนังสือจัดตั้งองค์กรที่รับรองโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือ หนังสือจัดตั้งมูลนิธิ เป็นต้น

กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรข้างต้น จะต้องแสดงหนังสือ 2 ฉบับ ได้แก่

1. หนังสือแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับองค์กร ดังนี้

  • รายนามคณะกรรมการ
  • วัตถุประสงค์
  • ที่อยู่
  • สำหรับโครงการ ให้ระบุวันสิ้นสุดของโครงการ

2. หนังสือรับรองจากองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐ รับรองว่า มีหน่วยงานดังกล่าวอยู่จริง