- เกี่ยวกับเรา
- Cloud
-
-
-
คลาวด์เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว
คลาวด์โฮสติ้ง บน Global Cloud ระดับโลก
คลาวด์อีเมลธุรกิจ
-
-
-
- Hosting
- WordPress
- อีเมล์โฮสติ้ง
- โดเมนเนม
- AI
- ช่วยเหลือ
- ติดต่อเรา
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Web Hosting/Mail Server พูดคุยกับเจ้าหน้าที่
รู้จักคลาวด์เทคโนโลยี
What is Cloud?
Cloud หรือ Cloud Computing คือเทคโนโลยีที่ให้บริการการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต แทนที่จะต้องจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว เช่น
- การจัดเก็บข้อมูล : คุณสามารถเก็บไฟล์หรือข้อมูลต่าง ๆ ไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ เช่น Google Drive, Dropbox, หรือ AWS
- การประมวลผล การใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลหรือรันโปรแกรม เช่น การใช้งานแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องติดตั้งบนเครื่องของคุณเอง
Cloud Server ของเราแตกต่างจากผู้ให้บริการท่านอื่นอย่างไร ?
Cloud แบ่งตามลักษณะการให้บริการ
- Public Cloud (คลาวด์สาธารณะ) : เป็นบริการที่ผู้ให้บริการคลาวด์ (เช่น AWS, Microsoft Azure, Google Cloud) ให้บริการแก่ผู้ใช้งานทั่วไป ผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเช่าทรัพยากรการประมวลผลและสตอเรจได้ตามต้องการ โดยที่ทรัพยากรเหล่านี้ถูกแชร์กับผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ข้อดีคือความยืดหยุ่นและต้นทุนที่ต่ำ
- Private Cloud (คลาวด์ส่วนตัว) เป็นระบบคลาวด์ที่ถูกสร้างและใช้งานเฉพาะภายในองค์กรหรือบริษัท ระบบทั้งหมดจะถูกควบคุมโดยองค์กรเอง ทำให้มีความปลอดภัยสูงกว่า ข้อดีคือการควบคุมทรัพยากรได้อย่างเต็มที่ แต่มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าคลาวด์สาธารณะ
- Hybrid Cloud (คลาวด์แบบผสม) เป็นการรวมเอาทั้ง Public Cloud และ Private Cloud มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์จากข้อดีของทั้งสองประเภท ตัวอย่างเช่น องค์กรอาจใช้ Public Cloud ในการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่สำคัญ และใช้ Private Cloud สำหรับข้อมูลสำคัญที่ต้องการความปลอดภัยสูง
- Community Cloud (คลาวด์ชุมชน) เป็นคลาวด์ที่ถูกใช้งานร่วมกันโดยองค์กรที่มีความต้องการคล้ายคลึงกัน โดยอาจอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น ธนาคารหรือสถาบันการศึกษา ทั้งนี้เพื่อแบ่งปันต้นทุนและทรัพยากรที่จำเป็นในลักษณะเฉพาะ
ไม่จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Centralized Architecture
ผู้ให้บริการคลาวด์ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักนิยมออกแบบคลาวด์ในรูปแบบนี้ด้วยการนำ SAN หรือ Storage มาไว้ส่วนกลางและเชื่อมเข้าด้วยเซิร์ฟเวอร์จำนวนหลายเครื่อง เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและง่ายต่อการย้ายจากระบบเดิมมาเป็นคลาวด์ แต่การออกแบบในลักษณะนี้ก็มีข้อเสียอยู่ไม่น้อย เช่น หากการเก็บข้อมูลส่วนกลางได้รับความเสียหาย ระบบทั้งหมดจะ down ทันที แม้จะแก้ไขด้วยการทำ Mirror SAN แต่ปัญหาที่จะตามมาในภายหลังคือปัญหาคอขวด เมื่อเซิร์ฟเวอร์ทุกเครื่องต้องเรียกข้อมูลจากศูนย์กลางเพียงจุดเดียว แม้จะแก้ไขด้วยการนำ Switch ความเร็วสูงหลายตัวมาใช้งาน แต่ก็ยังไม่ดีพอต่อการ Scale Out เมื่อมีจำนวน Server เพิ่มขึ้นในอนาคต
เรามีแนวคิดสำหรับ Cloud Technology ยุดใหม่ที่ว่า “SAN ไม่จำเป็นอีกต่อไป” เราจึงนำแนวคิด Virtual SAN หรือที่เรียกว่า vSAN มาใช้งาน หลักการของ vSAN คือ การนำเซิร์ฟเวอร์จำนวนหลายเครื่อง (ปัจจุบัน 30 เครื่อง) มาทำงานร่วมกันในลักษณะ Cluster โดยใช้ Local Storage (HDDs) บนเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องมาใช้งาน ควบคู่กับ SSDs เพื่อ Cache Data ที่มีการเรียกใช้งานบ่อยๆ เมื่อเซิร์ฟเวอร์ทำงานร่วมกันในลักษณะ Cluster ด้วย vSAN ทำให้เกิด Cloud Technology รูปแบบใหม่
ถ้าเซิร์ฟเวอร์เครื่องหนึ่งพังข้อมูลจะหายหรือไม่ ?
คำตอบคือ “ไม่” อย่างแน่นอน นั่นคือความคิดแรกที่มีความสำคัญมากที่สุดที่เราจะต้องนึกถึง เพราะหน้าคือของเราคือการรักษาข้อมูลและการทำให้ข้อมูลนั้นถูกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดเก็บข้อมูลด้วย vSAN นั่นเป็นการจัดเก็บแบบ Distributed Network File System โดยข้อมูลจะกระจายตัวอยู่บน Cloud Network ของเครือข่ายเรา เราจะไม่มีทางรู้ว่าข้อมูลนั้นอยู่บนเซิร์ฟเวอร์เครื่องใด การจัดเก็บลักษณะนี้จะทำให้ข้อมูลปลอดภัยจากแฮคเกอร์ ซึ่งเป็นแนวความคิดและวิธีปฏิบัติเดียวกับผู้ให้บริการระดับโลก เช่น Google, Apple, Facebook, Microsoft
จากภาพ vSAN Cloud Storage ทางด้านซ้ายมือจะแสดงให้เห็นถึงการทำงานของ vSAN เมื่อมีข้อมูลเข้ามาหนึ่ง Object ระบบจะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ และกระจายเข้าไปเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในระบบ Cluster โดยจะเก็บไว้มากกว่า 1 เครื่อง