WordPress Update

วิธีอัพเดต WordPress ธีมและปลั๊กอินอย่างถูกต้อง

การอัปเดต WordPress ธีม และปลั๊กอินอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของคุณ หากคุณมีความกังวลหรือเคยทำการ อัปเดต WordPress, Theme หรือ Plugins ไปแล้วทำให้เว็บไซต์พัง เข้าไม่ได้ แนะนำว่าควรทำตามขั้นตอนดังนี้

1. สำรองข้อมูล (Backup ก่อนทุกครั้ง)

ใช้ปลั๊กอินเช่น UpdraftPlus, All-in-One WP Migration หรือสำรองผ่าน Hosting Control Panel (เช่น Plesk, cPanel, aaPanel)

สำรอง:

  • ไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ public_html หรือ httpdocs
  • ฐานข้อมูล MySQL
all-in-one wp migration

2. เปิดโหมดบำรุงรักษา (Maintenance Mode) [แนะนำ]

  • ใช้ปลั๊กอินเช่น WP Maintenance Mode หรือ SeedProd
  • เพื่อป้องกันผู้ใช้เห็นหน้าผิดปกติระหว่างการอัปเดต
maintenance mode wordpress

3. อัปเดตลำดับที่ถูกต้อง

เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างปลั๊กอิน/ธีมกับ WordPress core

  1. อัปเดตปลั๊กอินก่อน
  2. อัปเดตธีมถัดมา
  3. อัปเดต WordPress Core เป็นลำดับสุดท้าย

4. วิธีการอัปเดตแต่ละส่วน

อัปเดต WordPress Core

  • ไปที่ แดชบอร์ด > อัปเดต
  • หากมีเวอร์ชันใหม่ จะมีปุ่มให้คลิก “อัปเดตเดี๋ยวนี้”

อัปเดตปลั๊กอิน

  • ไปที่ ปลั๊กอิน > ปลั๊กอินที่ติดตั้ง
  • เลือกปลั๊กอินทั้งหมดที่มีการแจ้งเตือน แล้วกด “อัปเดต”

อัปเดตธีม

  • ไปที่ รูปแบบ > ธีม
  • หากมีธีมที่ใช้อยู่มีการอัปเดต จะมีปุ่ม “อัปเดต”

5. ทดสอบหลังอัปเดต

  • ตรวจสอบหน้าเว็บหลัก และหน้าที่สำคัญต่างๆ ว่าทำงานปกติ
  • ตรวจสอบปลั๊กอินที่สำคัญ เช่น ตัวจัดการฟอร์ม, SEO, E-Commerce ฯลฯ

6. ปิดโหมดบำรุงรักษา

หากใช้ปลั๊กอิน maintenance ให้ปิดหลังจากตรวจสอบว่าเว็บไซต์ทำงานปกติ

คำแนะนำเพิ่มเติม

ควรอัปเดตในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานน้อย เช่น กลางคืน

  • หากใช้ธีมหรือปลั๊กอินแบบ Custom หรือ Premium ควรตรวจสอบ Compatibility กับเวอร์ชันใหม่ก่อน
  • เปิดใช้งาน การอัปเดตอัตโนมัติ (Automatic Updates) เฉพาะปลั๊กอิน/ธีมที่เชื่อถือได้
  • หากคุณใช้ระบบจัดการเว็บเช่น Plesk, aaPanel, หรือ DirectAdmin ก็สามารถตั้งค่า Auto Update ได้จากระบบ Hosting ได้เช่นกันนะครับ
Facebook
Twitter
Email

Related Posts

หมวดหมู่ที่น่าสนใจ