โดยทั่วไปแล้ว THAI DATA HOSTING หรือผู้ให้บริการ Web Hosting จะมีหน้าที่หลักในการให้บริการพื้นที่สำหรับจัดเก็บเว็บไซต์ และให้เว็บไซต์สามารถออนไลน์ได้ตลอดเวลา (Uptime) แต่ในเรื่องของ การจัดการเว็บไซต์ ดูแล และบำรุงรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามแพ็กเกจหรือข้อตกลงที่ลูกค้าทำกับผู้ให้บริการ ดังนี้
✅ หน้าที่ของผู้ให้บริการ Web Hosting
- ให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ (Disk Space)
- ให้บริการฐานข้อมูล (Database)
- ให้บริการอีเมล (ตามรายละเอียดของแพคเกจ)
- รับผิดชอบการทำให้เว็บไซต์เข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง (Server Uptime)
- สำรองข้อมูลเว็บไซต์(ตามรายละเอียดของแพคเกจ)
- มีระบบรักษาความปลอดภัยในระดับเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง เช่น Firewall / Anti-DDoS
❌ สิ่งที่ “ไม่รวม” อยู่ในขอบเขตของผู้ให้บริการ Hosting
- การออกแบบเว็บไซต์ หรือพัฒนาเว็บไซต์
- การอัปเดตเนื้อหาในเว็บไซต์
- การติดตั้งปลั๊กอิน, ปรับแต่ง WordPress
- การจัดการ SEO
- การตรวจสอบหรือป้องกัน แก้ไข Malware เฉพาะจุดในเว็บลูกค้า
🔐 ความปลอดภัยของเว็บไซต์ — ใครมีหน้าที่รับผิดชอบ?
เมื่อเว็บไซต์คือหน้าร้านดิจิทัลของคุณ ความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะหากถูกแฮก นอกจากข้อมูลจะเสียหายแล้ว ยังส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และอันดับใน Google อีกด้วย
หลายคนเข้าใจผิดว่าผู้ให้บริการ Hosting จะดูแลทุกอย่างให้ทั้งหมด แต่ความจริงคือ ความปลอดภัยของเว็บไซต์เป็นหน้าที่ของหลายฝ่ายร่วมกัน ดังนี้
1. เจ้าของเว็บไซต์ ✅
เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ในภาพรวมของความปลอดภัย
เนื่องจากเป็นคนที่ควบคุมระบบ Login, Plugin, เนื้อหา, รหัสผ่าน และการใช้งานต่างๆ
ต้องทำอะไรบ้าง:
- ใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัย
- อัปเดตระบบ CMS (เช่น WordPress) และ Plugin ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด
- ใช้งาน Theme/Plugin จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
2. ผู้ให้บริการ Web Hosting (เช่น THAI DATA HOSTING) 🧰
มีหน้าที่ดูแล ความปลอดภัยในระดับเซิร์ฟเวอร์ (Server-side Security)
หน้าที่ที่รับผิดชอบ:
- ป้องกัน DDoS, Firewall
- ปรับแต่งและอัปเดตระบบปฏิบัติการ (Linux/Windows)
- สำรองข้อมูล (ถ้ามีในแพ็กเกจ)
- ดูแล Hardware Server รวมถึง Uptime ของเซิร์ฟเวอร์
📌 ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรงกับไวรัส, มัลแวร์ในเว็บไซต์ของลูกค้า ถ้าลูกค้าใช้รหัสผ่านอ่อนแอ หรือโหลด Plugin ที่ติดไวรัสมาเอง
3. ผู้ดูแลเว็บไซต์ / นักพัฒนาเว็บ 👨💻
รับผิดชอบการเขียนโค้ดให้ปลอดภัย และดูแลระบบ CMS ให้ปลอดภัยจากภายใน
หน้าที่:
- เขียนโค้ดให้ปลอดภัย (ป้องกัน SQL Injection, XSS)
- ใช้มาตรฐาน HTTPS และกำหนด Security Header
- ติดตั้ง Plugin ป้องกัน Brute Force / Firewall WordPress
- ตรวจสอบ log และทำ Monitoring